การรับเข้าศึกษา

รอบที่ 1 Portfolio 

  1. การรับสมัครคัดเลือกนักเรียนที่มีความเป็นเลิศทางด้านภาษาอังกฤษ
  2. การรับสมัครคัดเลือกนักเรียนโครงการโอลิมปิกวิชาการ

รอบที่ 2 Quota 

  1. การรับสมัครคัดเลือกนักเรียนจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม
  2. การรับสมัครคัดเลือกนักเรียนโครงการรับนักเรียนจากชนบท (โครงการจุฬา-ชนบท)

รอบที่ 3 โครงการรับตรง ร่วมกับกสพท.

ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา

ค่าเล่าเรียน

ภาคการศึกษาละ 34,000 บาท

ค่าวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือประกอบการศึกษา

นิสิตชั้นปีที่ ๑-๓ ปีการศึกษาละ 58,000 บาท

นิสิตชั้นปีที่ ๔-๖ ปีการศึกษาละ 100,000 บาท

รายละเอียด เพิ่มเติมอ่านได้ที่

ทุนและสวัสดิการ

          สิ่งที่น้อง ๆ ควรรู้ไว้ คือ การเรียนในคณะทันตแพทย์นั้น มีค่าใช้จ่ายที่มากพอสมควร เนื่องจากเราต้องเรียนเนื้อหาวิชาหลายอย่างรวมถึงแล็บ ที่มีการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพง ทำให้สามารถสรุปค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ที่พวกเราจะต้องใช้ขณะเรียนที่นี่ได้ดังนี้ ! 

  • ค่าเทอม เทอมละ 34,000 บาท
  • ค่าอุปกรณ์ ปี 1-3 เทอมละ 29,000 บาท และ ปี 4-6 เทอมละ 50,000 บาท
  • ค่าเสื้อแล็บ
  • ค่าสมาคมนิสิตเก่าทันตแพทยศาสตร์ ประมาณ 2,500 บาท
  • ค่าสอบ NL (National License) 2 ครั้ง ประมาณ 10,000 บาท

          แต่ก็ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะทางมหาวิทยาลัยและคณะของเราก็มีทุนการศึกษาและสวัสดิการต่าง ๆ ไว้เพื่อช่วยเหลือและรองรับภาระค่าใช้จ่ายตรงนี้ของน้อง ๆ ด้วย ว่าแต่ทุนและสวัสดิการต่าง ๆ ของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีอะไรบ้างนะ?

จัดบริการตรวจภูมิคุ้มกันให้กับนิสิตชั้นปีที่ 3 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
รวมถึงมีการบรรยายให้ความรู้ และวัคซีนป้องกัน

  • มีบริการตรวจรักษาและปรึกษาโดยจิตแพทย์
  • งานอนามัยให้บริการรักษาพยาบาลแก่บุคลากรทุกคน
    โดยการตรวจรักษาแบบไม่คิดค่าบริการ

 

มีการจัดทำประกันชีวิตและอุบัติเหตุของมหาวิทยาลัยสำหรับนิสิต

 

ทำการเปิดรับสมัครปีละ 2 ครั้ง โดยการกรอกข้อมูลและส่งเอกสาร

 

  • หอพักภายในมหาวิทยาลัย เปิดรับสมัครในช่วงเดือนพฤษภาคม
    สำหรับนิสิตใหม่ และเดือนมกราคมกับกันยายนสำหรับนิสิตที่เข้าอยู่ภาคการศึกษาถัดไป รายละเอียดเพิ่มเติม rcu.sa.chula.ac.th
  • หอพักเอกชน เปิดรับสมัครในช่วงเดือนพฤษภาคม
    รายละเอียดเพิ่มเติม ucenterchula.com

เป็นบริการอาหารกลางวันฟรี สำหรับนิสิตเพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่าย
ติดต่อได้ที่ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ

มีการจัดเตรียมเสื้อกาวน์สำหรับนิสิตคนละ 2 ชุด ในการปฏิบัติงาน
กับผู้ป่วยคลินิกทันตกรรมที่เริ่มขึ้นในชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2
โดยจะมีพิธีมอบเสื้อกาวน์ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 2 นั้น

  • เป็นบริการหางานและแนะแนวอาชีพสำหรับนิสิตของมหาวิทยาลัย
    รวมถึงทุนการศึกษา ข้อมูลศึกษาต่อ และงานชั่วคราวสำหรับนิสิต
    ที่ต้องการหารายได้ระหว่างการศึกษา
  • งานให้คำปรึกษาสายด่วน จุฬาฯ จัดบริการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ หรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมในด้านต่าง ๆ

ให้การช่วยเหลือในกรณีที่นิสิตมีเหตุสุดวิสัย มีความจำเป็นเร่งด่วน
ในการใช้เงิน หรือความอนุเคราะห์เรื่องต่าง ๆ

 

สามารถขอลดค่าโดยสารรถไฟ ในกรณีต่าง ๆ ได้แก่ ตั๋วเดือน
ตั๋วลดครึ่งราคา ขอลดค่าโดยสารเป็นหมู่คณะ

  • ทุนอุดหนุนการศึกษา มีการช่วยเหลือค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่าย
    รายเดือนแล้วแต่ประเภททุน
  • ทุนภายใน ทั้งด้านการเรียน ทำวิจัย ทำกิจกรรม นิสิตที่มีคุณธรรม
    ดีเด่น รวมถึงทุนฉุกเฉิน
  • ทุนภายนอก

นอกจากนี้ เรายังมีสวัสดิการอื่นๆ สำหรับนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ภายในคณะอีกด้วย เช่น บริการ iPad ให้ยืมใช้ได้ระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่, sim internet ฟรี เป็นต้น 

รายละเอียดเพิ่มเติม 

www.dent.chula.ac.th

หรือติดต่อกิจการนิสิต ชั้น 2 อาคารวาจวิทยาวัฑฒน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โทรศัพท์ 02-218-8656, 02-218-8658 โทรสาร 02-255-3058

Try Again

ถูกต้อง!

เห็นไหม ว่าหากเราเลือกสีของวัสดุบูรณะได้ถูกต้อง ฟันที่ได้ออกมาก็จะสวย เนียนเหมือนของจริงแบบนี้เลยล่ะ!

สุดท้ายนี้ อย่าลืมไปติดตามไอจีของพี่หมอ @dr.thanut เจ้าของภาพฟันที่ใช้ใน Quiz นี้ เพื่อดูผลงานอื่น ๆ ของพี่หมอกันเลย

หลายคนคงเคยมีประสบการณ์ขูดหินปูนด้วยเครื่องที่มีน้ำพ่นออกมาด้วย แต่รู้มั้ยว่าจริง ๆ แล้วยังมีเครื่องมือหน้าตาแบบนี้ไว้ขูดหินปูนแบบไม่ต้องพ่นน้ำหรือเรียกว่าขูดแบบแห้งนั่นเอง

แล็บวิชานี้พิเศษตรงที่นอกจากจะฝึกกับหุ่นแล้วยังได้ลองขูดหินปูนให้เพื่อนในรุ่น เรียกได้ว่าเป็นคนไข้คนแรกในชีวิตเราเลยแหละ >_<

ไม่ต้องเป็นห่วง ! เพื่อนจะไม่ทำร้ายเรา เพราะเราจะได้ซ้อมขูดหินปูนกับหุ่นจนชำนาญ ก่อนขูดหินปูนกับเพื่อนจริง ๆ บนคลินิกนะ

การอุดฟัน

การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน เราจะค่อย ๆ เรียนรู้วิธีการอุดฟันหลาย ๆ รูปแบบที่แตกต่างกัน ให้ได้ฟันที่สวยงามดังเดิม

ครอบฟันและสะพานฟัน
(Crown & Bridge)

การทำครอบฟันหรือสะพานฟัน หลายคนคงคิดว่าออกแบบฟัน 1 ซี่น่าจะง่ายกว่าฟันปลอมตั้งเยอะ แต่ความจริงมีความยากกันคนละแบบเพราะการทำครอบฟันก็มีหลากหลายวัสดุ แถมยังซี่เล็กนิดเดียว ต้องมีความละเอียดในการทำมาก ๆ เลย

ฟันปลอมบางส่วนถอดได้ (Removable partial denture)

เป็นการใส่ฟันปลอมทดแทนบางส่วนให้กับคนไข้ โดยรูปร่างของฟันปลอมก็แตกต่างกันไปในแต่ละประเภท สิ่งที่แตกต่างจากฟันปลอมทั้งปากคือเราต้องนำฟันที่เหลืออยู่ของคนไข้มาออกแบบให้ได้ชนิดและรูปร่างของฟันปลอมที่เหมาะสมนั่นเอง

ฟันปลอมทั้งปาก
(Complete denture)

ตามภาพที่เห็นดูไม่ยาก แต่จริง ๆ แล้วต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการทำเลยนะะะ ฟันปลอมของคนไข้แต่ละคนหน้าตาไม่เหมือนกันนะ เราต้องออกแบบให้เหมาะกับคนไข้แต่ละคนอีกด้วย!!

c. ฟันซี่ 26

“Two-digit system” เป็นระบบที่นิยมใช้ในการนับและการเรียกซี่ฟันโดยใช้ตัวเลขสองหลัก ตัวเลขหลักแรกที่อยู่ทางซ้ายมือจะแทน Quadrant ที่ฟันอยู่ และตัวเลขหลักที่สองที่อยู่ทางขวามือจะแทนตำแหน่งของฟันซี่นั้นเมื่อนับจากกึ่งกลางใบหน้าเข้ามา

อย่างในคำถามข้อนี้ฟันที่ลูกศรชี้คือ ฟันบนด้านซ้ายก็จะอยู่ใน Quadrant ที่ 2 และเป็นฟันกรามซี่แรกจึงลงท้ายด้วย 6 ฟันซี่นี้คือฟันซี่ 26 นั่นเอง

A=Maxilla, B=Mandible

กระดูกสองชิ้นนี้จะเป็นกระดูกที่ชีวิตในการเรียนทันตแพทย์จะได้ยินชื่อนับครั้งไม่ถ้วนเลยเพราะเป็นกระดูกที่อยู่กับฟันนั้นเอง โดย maxilla คือขากรรไกรบน และ mandibular คือขากรรไกรล่าง

เกือบแล้ว ลองตอบดูอีกทีนะ