Preclinic

Preclinic

พรีคลินิกคือชั้นปีที่ 1-3 แปลตามตัวเลยก็คือเป็นช่วงที่เราจะได้เตรียมตัวก่อนจะเจอคนไข้จริงบนคลินิกนั่นเอง เราจะได้เรียนเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ โรคในช่องปาก รวมถึงวิธีการรักษาตามสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น การอุดฟัน การทำฟันปลอม การขูดหินปูน และยังได้ฝึกการทำแล็บกับหุ่นหรือกับเพื่อน เพื่อฝึกฝีมือให้พร้อม ก่อนที่จะไปเป็นคุณหมอบนคลินิกในชั้นปีที่ 4-6 บอกได้เลยว่า 3 ปีนี้เข้มข้นทั้งเนื้อหาทั้งงานฝีมือ แถมยังมีกิจกรรมมากมายรอน้อง ๆ อยู่ ไม่รอช้าเรามาดูสิ่งที่เราจะได้เจอในแต่ละปีกัน!

พรีคลินิกคือชั้นปีที่ 1-3 แปลตามตัวเลยก็คือเป็นช่วงที่เราจะได้เตรียมตัวก่อนจะเจอคนไข้จริงบนคลินิกนั่นเอง เราจะได้เรียนเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ โรคในช่องปาก รวมถึงวิธีการรักษาตามสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น การอุดฟัน การทำฟันปลอม การขูดหินปูน และยังได้ฝึกการทำแล็บกับหุ่นหรือกับเพื่อน เพื่อฝึกฝีมือให้พร้อมก่อนที่จะไปเป็นคุณหมอบนคลินิกในชั้นปีที่ 4-6 บอกได้เลยว่า 3 ปีนี้เข้มข้นทั้งเนื้อหาทั้งงานฝีมือ แถมยังมีกิจกรรมมากมายรอน้อง ๆ อยู่  ไม่รอช้าเรามาดูสิ่งที่เราจะได้เจอในแต่ละปีกัน!

พรีคลินิกคือชั้นปีที่ 1-3 แปลตามตัวเลยก็คือเป็นช่วงที่เราจะได้เตรียมตัวก่อนจะเจอคนไข้จริงบนคลินิกนั่นเอง เราจะได้เรียนเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ โรคในช่องปาก รวมถึงวิธีการรักษาตามสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น การอุดฟัน การทำฟันปลอม การขูดหินปูน และยังได้ฝึกการทำแล็บกับหุ่นหรือกับเพื่อน เพื่อฝึกฝีมือให้พร้อมก่อนที่จะไปเป็นคุณหมอบนคลินิกในชั้นปีที่ 4-6 บอกได้เลยว่า 3 ปีนี้เข้มข้นทั้งเนื้อหาทั้งงานฝีมือ แถมยังมีกิจกรรมมากมายรอน้อง ๆ อยู่  ไม่รอช้าเรามาดูสิ่งที่เราจะได้เจอในแต่ละปีกัน!

Year 1 : Basic Science

Year 1 : Basic Science

น้องเล็กของพี่ ๆ ที่เพิ่งจะก้าวเข้าสู่วงการทันตแพทย์ ก็เลยต้องเริ่มต้นกันด้วย วิทยาศาสตร์ทั่วไปก่อน ทั้งฟิสิกส์ เคมี ชีวะ (เหมือนรวบม.ปลายสามปีไว้ในปีเดียวเลยล่ะ) มีเพิ่มเนื้อหา จากม.ปลายขึ้นมานิดหน่อยตอนเทอมสอง แต่ก็ยังถือว่าเรียนเบาที่สุดในหกปีอยู่ดีนะ! นอกจากเรื่องเรียนแล้ว เหล่าน้องเล็กก็จะได้รับการต้อนรับจากพี่ ๆ อย่างอบอุ่นด้วยกิจกรรมต่าง ๆ และเลี้ยงสายรหัส บอกเลยว่าได้กินข้าวฟรีบ่อยมากกก

น้องเล็กของพี่ ๆ ที่เพิ่งจะก้าวเข้าสู่วงการทันตแพทย์ ก็เลยต้องเริ่มต้นกันด้วย 
วิทยาศาตร์ทั่วไปก่อน ทั้งฟิสิกส์ เคมี ชีวะ (เหมือนรวบม.ปลายสามปีไว้ในปีเดียวเลยล่ะ) มีเพิ่มเนื้อหา จากม.ปลายขึ้นมานิดหน่อยตอนเทอมสอง แต่ก็ยังถือว่าเรียนเบาที่สุดในหกปีอยู่ดีนะ! นอกจากเรื่องเรียนแล้ว เหล่าน้องเล็กก็จะได้รับการต้อนรับจากพี่ ๆ อย่างอบอุ่นด้วยกิจกรรมต่าง ๆ และเลี้ยงสายรหัส บอกเลยว่าได้กินข้าวฟรีบ่อยมากกก

Culture Shock!!

สิ่งที่คิด

มีวิชาเรียนให้เลือกหลากหลาย

Culture Shock!!

สิ่งที่เจอ

วิชาเลือกลงทะเบียนติดยาก
ต้องแข่งกับคนทั้งจุฬาฯ

Culture Shock!!

สิ่งที่คิด

อาจารย์ค่อย ๆ สอน สไลด์อ่านง่าย
เป็นภาษาไทยแบบตอนมัธยม

Culture Shock!!

สิ่งที่เจอ

สไลด์เป็นภาษาอังกฤษแทบจะทั้งหมด!!!
หรือบางวิชาอาจจะไม่มีสไลด์นะ

Culture Shock!!

สิ่งที่คิด

มีวิชาเรียนให้เลือกหลากหลาย

Culture Shock!!

สิ่งที่คิด

อาจารย์ค่อย ๆ สอน สไลด์อ่านง่าย
เป็นภาษาไทยแบบตอนมัธยม

What we learn

วิชาของปี 1 หลัก ๆ เราจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ วิชาบังคับ และ รายวิชา GenEd

ในส่วนของวิชาบังคับ ส่วนมากจะเรียนเกี่ยวกับวิชาที่เป็นวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และวิชาแล็บ ซึ่งอาจารย์ที่สอนจะมีทั้งอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ และ
ทันตแพทยศาสตร์เอง และเนื้อหาจะคล้ายกับตอน ม.ปลาย นอกจากนี้ เรายังต้องเรียนวิชาเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ จริยธรรม ความรับผิดชอบของทันตแพทย์ รวมถึงวิชาภาษาอังกฤษ วิชาสถิติและระบาดวิทยาด้วย

ในส่วนของวิชา GenEd (General Education)
คือ วิชาศึกษาทั่วไปที่ทางจุฬาฯ กำหนดให้ทุกคนต้องเลือกเรียนเพิ่มเพื่อให้นิสิตมีความรู้รอบด้าน นอกเหนือจากการเรียนในคณะนั่นเอง

ในส่วนของวิชาบังคับ ส่วนมากจะเรียนเกี่ยวกับวิชาที่เป็นวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และวิชาแล็บ ซึ่งอาจารย์ที่สอนจะมีทั้งอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์เอง และเนื้อหาจะคล้ายกับตอน ม.ปลาย นอกจากนี้ เรายังต้องเรียนวิชาเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ จริยธรรม ความรับผิดชอบของทันตแพทย์ รวมถึงวิชาภาษาอังกฤษ วิชาสถิติและระบาดวิทยาด้วย

ในส่วนของวิชา GenEd (General Education) คือ วิชาศึกษาทั่วไปที่ทางจุฬาฯ กำหนดให้ทุกคนต้องเลือกเรียนเพิ่มเพื่อให้นิสิตมีความรู้รอบด้าน นอกเหนือจากการเรียนในคณะนั่นเอง

Freshy’s life

 (ลองแตะที่รูปดูสิ)

ภาพบรรยากาศการเรียน GenEd ที่เราจะได้ไปเรียนกันที่คณะอื่น แถมเพื่อนร่วมห้อง
ก็มาจาก หลากหลายคณะ หลากหลายชั้นปี
จากทั่วจุฬาเลย!
แวะมาทานข้าวที่โรงอาหาร
คณะอื่น อย่างในภาพก็
เหนียวไก่วิศวะในตำนาน
มีแค่ปี 1 เท่านั้นนะที่จะมีโอกาส
ปีอื่นไม่มีเวลาแล้ววววว
พี่ ๆ ตั้งแต่ปี 2-6 จะพาน้องไปเลี้ยงข้าว แถมอาจารย์ก็พาไปเลี้ยงอีกด้วยนะ กินกันจุก ๆ
บางคนถึงกับกินบุฟเฟ่ต์มาราธอนติดกันเป็นอาทิตย์
ไปเลย

Year 2 : Normalities

หลังจากการเป็น freshy น้องเล็กในปี 1 เราจะได้เข้าใกล้ความเป็นทันตแพทย์อีกนิด ทุกอย่างจะเข้มข้นขึ้น ทั้งการเรียนที่หนักหน่วงขึ้นทั้งเนื้อหาและการสอบ! น้องๆ จะได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ “ทันตะ” มากขึ้น เช่น anatomy ของฟัน ร่างกายมนุษย์ วิธีการถ่ายภาพ X-Rays ผ่าอาจารย์ใหญ่ ทำแล็บคราฟฟัน พูดรวม ๆ ก็คือปีสองเราจะเรียนภาคปกติของร่างกายก่อน และที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ก็คือปีนี้น้อง ๆ จะได้ สอบเป็น Block นอกจากเรื่องเรียน กิจกรรมเราก็ไม่แพ้ใครนะ จากที่น้องจะได้เป็นผู้เข้าร่วมในปี 1 ก็จะได้เป็นผู้จัดงานในปี 2 นั่นเองงงง

หลังจากการเป็น freshy น้องเล็กในปี 1 เราจะได้เข้าใกล้ความเป็นทันตแพทย์อีกนิด ทุกอย่างจะเข้มข้นขึ้น ทั้งการเรียนที่หนักหน่วงขึ้นทั้งเนื้อหาและการสอบ! น้องๆ จะได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ “ทันตะ” มากขึ้น เช่น anatomy ของฟัน ร่างกายมนุษย์ วิธีการถ่ายภาพ X-Rays ผ่าอาจารย์ใหญ่ ทำแล็บคราฟฟัน พูดรวม ๆ ก็คือปีสองเราจะเรียนภาคปกติของร่างกายก่อน และที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ก็คือปีนี้น้อง ๆ จะได้ สอบเป็น Block นอกจากเรื่องเรียน กิจกรรมเราก็ไม่แพ้ใครนะ จากที่น้องจะได้เป็นผู้เข้าร่วมในปี 1 ก็จะได้เป็นผู้จัดงานในปี 2 นั่นเองงงง

Culture Shock!!

สิ่งที่คิด

เรียนชิล ๆ มีเวลาว่างเหมือนปี 1

Culture Shock!!

สิ่งที่คิด

เรียนชิล ๆ มีเวลาว่างเหมือนปี 1

Culture Shock!!

สิ่งที่เจอ

ปีนี้เรียนเป็น block ถ้าเรียนจบปุ๊บ
ก็จะสอบเลยทำให้เทอมนี้
มีสอบเกือบ 40 ครั้ง

What we learn

Gross Anatomy

เคยได้ยินมั้ยว่าเรียนทันตะต้อง ผ่าอาจารย์ใหญ่ ด้วย! แม้งานของทันตแพทย์ส่วนมากจะอยู่ในช่องปาก แต่เราก็ยังต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบต่าง ๆ ของร่างกายอีกด้วย เพราะแต่ละระบบของร่างกายมีการทำงานที่สัมพันธ์กัน จึงมีวิชา gross anatomy เกิดขึ้นมานั่นเองงง น้อง ๆ จะได้เรียนทั้งเลคเชอร์และแล็บเกี่ยวกับ anatomy ของร่างกาย ได้ดูว่าหัวใจหน้าตาเป็นยังไง อยู่ด้านซ้ายของร่างกายจริงรึเปล่าน้าาา ถือว่าเป็น highlight ของปี 2 เลย เป็นประสบการณ์หายากที่จะไม่เจอในปีอื่น ๆ ของชีวิตนิสิตทันตแพทย์แล้ว

Did you know?

1. จากภาพ ส่วนที่ลูกศรชี้ A และ B คือกระดูกที่มีชื่อว่าอะไรตามลำดับ

Dental Anatomy

นอกจากเราจะเรียน anatomy ของทั้งร่างกายแล้ว เพราะเราเป็นทันตแพทย์เราจึงต้องเรียนเจาะลึกลงไปถึง anatomy ของ “ฟัน” อีกด้วย เห็นว่าฟันซี่เล็กนิดเดียวแบบนี้ ถึงจะต้องเรียนกันเป็นวิชาเลยหรอ? ที่จริงแล้วฟันแต่ละซี่ก็จะมีร่องฟัน ปุ่มฟันที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเราจะต้องจำ anatomy ของฟันที่ปกติเพื่อรักษาหรือบูรณะให้ฟันกลับมามีรูปร่างปกติสวยงามและใช้งานได้ดี

และเพื่อให้เราเข้าใจและจดจำ anatomy ของฟันได้มากขึ้น เราจึงมีวิชา Dental Anatomy lab ที่เรียนควบคู่ไปกับวิชาเลคเชอร์ เพื่อที่จะสอนให้น้อง ๆ คราฟฟัน โดยเริ่มจากก้อนแว๊กซ์เปล่า ๆ ทำให้กลายเป็นฟันที่มี anatomy ที่ถูกต้องเหมือนฟันจริงขึ้นมา เป็นงานที่นอกจากจะใช้ความรู้ anatomy ของฟันแล้วยังเป็นแล็บแรกที่ได้ใช้เริ่มใช้ทักษะฝีมือ ทำงานละเอียดระดับมิลลิเมตร เข้าใกล้ความเป็นทันตแพทย์ขึ้น
อีกนิดดด

Did you know?

1. จากภาพ ฟันซี่ที่ลูกศรชี้อยู่คือฟันซี่ใดตาม Two-digit system

Microbiology

วิชานี้จะพาเราไปรู้จักกับเพื่อน ๆ ตัวน้อยของเรา ทั้งพวกที่ช่วยเหลือเราหรือบางพวก ที่ทำให้เราเจ็บป่วย รวมทั้งฝึกเทคนิควิธีการในห้องแล็บในการจัดการกับ บคทีเรีย โดยไม่ให้เกิดอันตรายต่อเรา และการส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อเจอกับ แบคทีเรีย ตรง ๆ ด้วย

Gross Anatomy

เคยได้ยินมั้ยว่าเรียนทันตะต้อง ผ่าอาจารย์ใหญ่ ด้วย! แม้งานของทันตแพทย์ส่วนมากจะอยู่ในช่องปาก แต่เราก็ยังต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบต่าง ๆ ของร่างกายอีกด้วย เพราะแต่ละระบบของร่างกายมีการทำงานที่สัมพันธ์กัน จึงมีวิชา gross anatomy เกิดขึ้นมานั่นเองงง น้อง ๆ จะได้เรียนทั้งเลคเชอร์และแล็บเกี่ยวกับ anatomy ของร่างกาย ได้ดูว่าหัวใจหน้าตาเป็นยังไง อยู่ด้านซ้ายของร่างกายจริงรึเปล่าน้าาา ถือว่าเป็น highlight ของปี 2 เลย เป็นประสบการณ์หายากที่จะไม่เจอในปีอื่น ๆ ของชีวิตนิสิตทันตแพทย์แล้ว

Did you know?

1. จากภาพ ส่วนที่ลูกศรชี้ A และ B คือกระดูกที่มีชื่อว่าอะไรตามลำดับ

Dental Anatomy

นอกจากเราจะเรียน anatomy ของทั้งร่างกายแล้ว เพราะเราเป็นทันตแพทย์เราจึงต้องเรียนเจาะลึกลงไปถึง anatomy ของ “ฟัน” อีกด้วย เห็นว่าฟันซี่เล็กนิดเดียวแบบนี้ ถึงจะต้องเรียนกันเป็นวิชาเลยหรอ? ที่จริงแล้วฟันแต่ละซี่ก็จะมีร่องฟัน ปุ่มฟันที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเราจะต้องจำ anatomy ของฟันที่ปกติเพื่อรักษาหรือบูรณะให้ฟันกลับมามีรูปร่างปกติสวยงามและใช้งานได้ดี

และเพื่อให้เราเข้าใจและจดจำ anatomy ของฟันได้มากขึ้น เราจึงมีวิชา Dental Anatomy lab ที่เรียนควบคู่ไปกับวิชาเลคเชอร์ เพื่อที่จะสอนให้น้อง ๆ คราฟฟัน โดยเริ่มจากก้อนแว๊กซ์เปล่า ๆ ทำให้กลายเป็นฟันที่มี anatomy ที่ถูกต้องเหมือนฟันจริงขึ้นมา เป็นงานที่นอกจากจะใช้ความรู้ anatomy ของฟันแล้วยังเป็นแล็บแรกที่ได้ใช้เริ่มใช้ทักษะฝีมือ ทำงานละเอียดระดับมิลลิเมตร เข้าใกล้ความเป็นทันตแพทย์ขึ้นอีกนิดดด

Did you know?

1. จากภาพ ฟันซี่ที่ลูกศรชี้อยู่คือฟันซี่ใดตาม Two-digit system

Microbiology

วิชานี้จะพาเราไปรู้จักกับเพื่อน ๆ ตัวน้อยของเรา ทั้งพวกที่ช่วยเหลือเราหรือบางพวกที่ทำให้เราเจ็บป่วย รวมทั้งฝึกเทคนิควิธีการในห้องแล็บในการจัดการกับ แบคทีเรีย โดยไม่ให้เกิดอันตรายต่อเรา และการส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อเจอกับแบคทีเรีย ตรง ๆ ด้วย

Year 3 : Abnormalities and Laboratories

ปีที่ผ่านมาว่าเข้มข้นแล้ว ปี 3 ก็ยังเข้มได้อี้กก ปีนี้เราจะได้ ทำแล็บมากมาย ทั้งแล็บฟันปลอมทั้งปาก ฟันปลอมบางส่วน  แล็บหัตถการที่น้อง ๆ จะได้ฝึกอุดฟันในปากหุ่น และในแล็บ
ปริทันต์ น้องจะได้ผลัดกันขูดหินปูนบนคลินิกเป็นครั้งแรก!!  นอกจากแล็บแล้วเนื้อหาก็ยัง
เข้มข้นไม่แพ้กัน เรียนความปกติของร่างกายไปแล้ว ในปีนี้เราก็มาต่อกันที่ ความผิดปกติ ตุ่มเล็ก ๆ ที่ปากนี้ปกติหรือเปล่านะหรือเป็นโรคอะไร ปีนี้จะได้แยกโรคกว่า 7392 โรค (ล้อเล่น ไม่ได้นับหรอก :P) เรียกได้ว่าต้องรวบรวมความรู้ทั้งหมดมาประยุกต์ใช้กันเลย ปี 3
ถือเป็นก้าวที่สำคัญมาก ๆ  ในการก้าวสู่ชั้นคลินิก 

ปีที่ผ่านมาว่าเข้มข้นแล้ว ปี 3 ก็ยังเข้มได้อี้กก ปีนี้เราจะได้ ทำแล็บมากมาย ทั้งแล็บฟันปลอมทั้งปาก ฟันปลอมบางส่วน  แล็บหัตถการที่น้อง ๆ จะได้ฝึกอุดฟันในปากหุ่น และในแล็บปริทันต์ น้องจะได้ผลัดกันขูดหินปูนบนคลินิกเป็นครั้งแรก!!  นอกจากแล็บแล้วเนื้อหาก็ยังเข้มข้นไม่แพ้กัน เรียนความปกติของร่างกายไปแล้ว ในปีนี้เราก็มาต่อกันที่ ความผิดปกติ ตุ่มเล็ก ๆ ที่ปากนี้ปกติหรือเปล่านะหรือเป็นโรคอะไร ปีนี้จะได้แยกโรคกว่า 7392 โรค (ล้อเล่น ไม่ได้นับหรอก :P) เรียกได้ว่าต้องรวบรวมความรู้ทั้งหมดมาประยุกต์ใช้กันเลย ปี 3 ถือเป็นก้าวที่สำคัญมาก ๆ  ในการก้าวสู่ชั้นคลินิก 

Culture Shock!!

(ลองแตะที่รูปดูสิ)

ตารางเรียนแน่นทั้งแล็บและเลคเชอร์ สอบไฟนอลสูงสุด 18 วิชา

แล็บเยอะมากกกก จนแทบจะใช้ชีวิตในห้องแล็บ

ต้องซื้อฟันใหม่ทุกครั้งที่กรอฟันพัง

What We Learn?

Abnormalities and Diseases

ทุกคนอาจจะไม่ทราบว่า เพียงรอยขาว ๆ
ในช่องปากที่ดูภายนอกเเล้วก็เหมือน ๆ กัน จริง ๆ แล้วรอยขาวนั้นอาจสามารถวินิจฉัยเป็นโรคที่เเตกต่างกันได้มากกว่า 10 โรค และโรคชื่อแปลก ๆ อีกมากมาย 

ทุกคนอาจจะไม่ทราบว่า เพียงรอยขาว ๆ ในช่องปากที่ดูภายนอกเเล้วก็เหมือน ๆ กัน จริง ๆ แล้วรอยขาวนั้นอาจสามารถวินิจฉัยเป็นโรคที่เเตกต่างกันได้มากกว่า 10 โรค และโรคชื่อแปลก ๆ อีกมากมาย 

วิชานี้จะพาเราทุกคนไปรู้จัก รอยโรคต่าง ๆ ในช่องปาก รวมถึงภายนอกช่องปาก และรอยโรคแปลก ๆ อีกมากมายที่เราอาจจะพึ่งรู้ว่าโลกนี้มีอะไรเเบบนี้ด้วย ซึ่งเเน่นอนว่าเราต้องสามารถจดจำรอยโรคทั้งหมดนั้นให้ได้ เเละสามารถวินิจฉัยเเยกออกจากกันให้ได้ด้วย ถึงเเม้ความต่าง
ของมันจะเล็กน้อยยย จนแทบมองไม่เห็น เเต่วิชานี้จะเบิกตาคุณให้กว้างเเละเห็นความต่างนั้นเอง

วิชานี้จะพาเราทุกคนไปรู้จัก รอยโรคต่าง ๆ ในช่องปาก รวมถึงภายนอกช่องปาก และรอยโรคแปลก ๆ อีกมากมายที่เราอาจจะพึ่งรู้ว่าโลกนี้มีอะไรเเบบนี้ด้วย ซึ่งเเน่นอนว่าเราต้องสามารถจดจำรอยโรคทั้งหมดนั้นให้ได้ เเละสามารถวินิจฉัยเเยกออกจากกันให้ได้ด้วย ถึงเเม้ความต่างของมันจะเล็กน้อยยย จนแทบมองไม่เห็น เเต่วิชานี้จะเบิกตาคุณให้กว้างเเละเห็นความต่างนั้นเอง

ขอบคุณภาพจาก @wachirakornp @kiwiist @sarun.wt

Laboratories

Prosth Lab

ทันตกรรมประดิษฐ์ เป็นวิชาที่เรียนเกี่ยวกับการทดแทนฟันด้วยวัสดุต่างๆ prosthetic เป็นสาขาวิชาที่ใหญ่มากทีเดียว ในชั้นปีที่ 3 นี้เราจะได้เรียนวิชาที่เกี่ยวกับ prosth หลายตัวเลย ไม่ว่าจะเป็น ฟันปลอมทั้งปาก, ฟันปลอมบางส่วนถอดได้, ครอบฟันและสะพานฟัน ซึ่งแต่ละวิชาแม้จะอยู่ในสาขาวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ แต่ก็ล้วนมีวิธีการที่เฉพาะตัวและแตกต่างกัน ซึ่งเราก็จะได้เรียนเนื้อหาควบคู่กับแล็บของแต่ละตัวเลย

(ลองแตะที่รูปดูสิ)

Oper Lab

ทันตกรรมหัตถการ คือการอุดฟันที่ทุกคนคุ้นเคย โดยในชั้นปีที่ 3 ของเรานั้นจะเรียนเกี่ยวกับหน้าตาของฟันผุ ฟันผุแล้วจำเป็นต้องอุดทุกซี่ไหม วิธีการอุดที่แตกต่างกันตามตำแหน่งของฟันผุ รวมถึงการเลือกวัสดุที่จะใช้ในการอุดอีกด้วย เราจะได้เรียนรู้คำตอบเหล่านี้ในปี 3 นั่นเอง! แต่นอกจากเราจะเรียนเนื้อหาพวกนี้แล้ว ในชั้นปีนี้ยังได้ลองทำแล็บอุดฟันอีกด้วยยยย

(ลองแตะที่รูปดูสิ)

Do you know?

คำถาม

ในการบูรณะฟันให้กับคนไข้นั้น สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่เราต้องทำก็คือ การเลือกสีวัสดุบูรณะให้เหมือนกับสีฟันคนไข้นั่นเอง เพราะหากสีของวัสดุบูรณะออกมาไม่เหมือนกับสีฟัน คนก็จะดูออกทันทีเลยใช่มั้ยล่ะว่าคนไข้คนนี้ไปทำฟันมา ดังนั้น การเลือกสีฟันเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ เลยนะ >< 

A.

B.

C.

D.

E.

F.

G.

H.

Perio Lab

ปริทันตวิทยา คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับเหงือกและอวัยวะรอบ ๆ ฟัน เช่น กระดูกเบ้าฟัน รวมถึงวิธีการรักษา ในวิชานี้จะตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องของโรคเหงือก การดูแลรักษาโรคเหงือกที่ถูกวิธีโดยเฉพาะการแปรงฟันและการใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดฟันอื่น ๆ เพื่อที่เราจะได้นำความรู้ที่ได้ไปสอนคนไข้ในชั้นคลินิกต่อไป นอกจากการดูแลสุขภาพช่องปากที่ทุกคนสามารถทำได้แล้ว เรายังต้องรู้ถึงวิธีการทำความสะอาดฟันที่มีเพียงทันตแพทย์อย่างเราสามารถทำได้นั่นก็คือ การขูดหินปูนนั่นเอง!! 

(ลองแตะที่รูปดูสิ)

Prosth Lab

ทันตกรรมประดิษฐ์ เป็นวิชาที่เรียนเกี่ยวกับการทดแทนฟันด้วยวัสดุต่างๆ prosthetic เป็นสาขาวิชาที่ใหญ่มากทีเดียว ในชั้นปีที่ 3 นี้เราจะได้เรียนวิชาที่เกี่ยวกับ prosth หลายตัวเลย ไม่ว่าจะเป็น ฟันปลอมทั้งปาก, ฟันปลอมบางส่วนถอดได้, ครอบฟันและสะพานฟัน ซึ่งแต่ละวิชาแม้จะอยู่ในสาขาวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ แต่ก็ล้วนมีวิธีการที่เฉพาะตัวและแตกต่างกัน ซึ่งเราก็จะได้เรียนเนื้อหาควบคู่กับแล็บของแต่ละตัวเลย

(ลองแตะที่รูปดูสิ)

Do you know?

คำถาม

ในการบูรณะฟันให้กับคนไข้นั้น สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่เราต้องทำก็คือ การเลือกสีวัสดุบูรณะให้เหมือนกับสีฟันคนไข้นั่นเอง เพราะหากสีของวัสดุบูรณะออกมาไม่เหมือนกับสีฟัน คนก็จะดูออกทันทีเลยใช่มั้ยล่ะว่าคนไข้คนนี้ไปทำฟันมา ดังนั้น การเลือกสีฟันเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ เลยนะ >< 

A.

B.

C.

D.

E.

F.

G.

H.

Perio Lab

ปริทันตวิทยา คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับเหงือกและอวัยวะรอบ ๆ ฟัน เช่น กระดูกเบ้าฟัน รวมถึงวิธีการรักษา ในวิชานี้จะตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องของโรคเหงือก การดูแลรักษาโรคเหงือกที่ถูกวิธีโดยเฉพาะการแปรงฟันและการใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดฟันอื่น ๆ เพื่อที่เราจะได้นำความรู้ที่ได้ไปสอนคนไข้ในชั้นคลินิกต่อไป นอกจากการดูแลสุขภาพช่องปากที่ทุกคนสามารถทำได้แล้ว เรายังต้องรู้ถึงวิธีการทำความสะอาดฟันที่มีเพียงทันตแพทย์อย่างเราสามารถทำได้นั่นก็คือ การขูดหินปูนนั่นเอง!! 

(ลองแตะที่รูปดูสิ)

Infection control

เนื่องจากงานทันตกรรมเป็นงานที่มีความฟุ้งกระจายและเกี่ยวข้องกับเชื้อโรค ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันตัวเองและคนไข้จากเชื้อโรค เราจึงต้องมีการเรียนวิชานี้!! วิชานี้เป็นวิชาที่เรียนเกี่ยวกับ การควบคุมการติดเชื้อ และความสำคัญของการนำความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชานี้ไปปฏิบัติงานจริงในชั้นคลินิก โดยจะมีการกล่าวถึงเรื่องโรคติดต่อและอันตรายต่างๆที่อาจพบได้ขณะปฏิบัติงานทางทันตกรรม วิธีการควบคุมเชื้อ ทำไมเราถึงต้องใส่ PPE (personal protective equipment) และ ปฏิบัติตาม standard precaution ทุกครั้งเวลาปฏิบัติงานทางทันตกรรม

เนื่องจากงานทันตกรรมเป็นงานที่มีความฟุ้งกระจายและเกี่ยวข้องกับเชื้อโรค ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันตัวเองและคนไข้จากเชื้อโรค เราจึงต้องมีการเรียนวิชานี้!! วิชานี้เป็นวิชาที่เรียนเกี่ยวกับ การควบคุมการติดเชื้อ และความสำคัญของการนำความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชานี้ไปปฏิบัติงานจริงในชั้นคลินิก โดยจะมีการกล่าวถึงเรื่องโรคติดต่อและอันตรายต่างๆที่อาจพบได้ขณะปฏิบัติงานทางทันตกรรม วิธีการควบคุมเชื้อ ทำไมเราถึงต้องใส่ PPE (personal protective equipment) และ ปฏิบัติตาม standard precaution ทุกครั้งเวลาปฏิบัติงานทางทันตกรรม

General Medicine

ในวิชานี้ เมื่อเราเรียนเสร็จ เราจะต้องรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่สามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างทำฟันและเราจะต้องสามารถประเมินได้ว่าคนไข้ที่มาทำฟันและมีโรคประจำตัว จะสามารถทำฟันในวันนั้น
ได้หรือไม่ เพราะหน้าที่ของทันตแพทย์ ไม่เพียงต้องให้การรักษาทางทันตกรรมแก่คนไข้เพียงเท่านั้น แต่ต้องช่วย ดูแลและลดความเสี่ยง ที่ทำให้สภาวะของคนไข้แย่ลงและระวังไม่ทำให้เกิดความผิดปกติมากกว่าเดิมด้วย และในปี 4 เราจะได้เรียนภาคต่อของวิชา General medicine นั้นก็คือ Medical emergency นั้นเอง

ในวิชานี้ เมื่อเราเรียนเสร็จ เราจะต้องรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่สามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างทำฟันและเราจะต้องสามารถประเมินได้ว่าคนไข้ที่มาทำฟันและมีโรคประจำตัว จะสามารถทำฟันในวันนั้นได้หรือไม่ เพราะหน้าที่ของทันตแพทย์ ไม่เพียงต้องให้การรักษาทางทันตกรรมแก่คนไข้เพียงเท่านั้น แต่ต้องช่วย ดูแลและลดความเสี่ยง ที่ทำให้สภาวะของคนไข้แย่ลงและระวังไม่ทำให้เกิดความผิดปกติมากกว่าเดิมด้วย และในปี 4 เราจะได้เรียนภาคต่อของวิชา General medicine นั้นก็คือ Medical emergency นั้นเอง

Clinic

การเรียนคลินิกในชั้นปีที่ 4-6 นี้ จะเป็นการนำความรู้จากการเรียนเลคเชอร์ รวมถึงประสบการณ์ที่ได้ฝึกฝนจากการทำแล็บต่าง ๆ ในชั้นปีพรีคลินิก มาประยุกต์เพื่อใช้ใน การรักษาคนไข้จริง ภายใต้การกำกับดูแลจากอาจารย์อย่างใกล้ชิด โดยนอกจากจะได้ฝึกการรักษาคนไข้ตามมาตรฐานวิชาชีพแล้ว น้อง ๆ ก็จะได้ฝึกบริหารจัดการเวลาในการนัดคนไข้ และได้ฝึกทักษะการสื่อสารกับคนไข้อีกด้วย เรียกได้ว่าการเรียนคลินิกนี้ จะทำให้น้อง ๆ ได้สัมผัสถึงความเป็นหมออย่างเต็มตัวเลยทีเดียว นอกจากการรักษาคนไข้แล้ว ในชั้นคลินิกปี 4-6 นี้ ก็ยังมีเลคเชอร์และแล็บที่ยังต้องเรียนคู่กันด้วย เรียกได้ว่าการเรียนในชั้นปีคลินิกนี้ก็เข้มข้นไม่แพ้พรีคลินิกเลย
มาดูกันดีกว่าว่าชีวิตในหนึ่งวันของพี่ ๆ ชั้นปีคลินิกทำอะไรกันบ้าง

การเรียนคลินิกในชั้นปีที่ 4-6 นี้ จะเป็นการนำความรู้จากการเรียนเลคเชอร์ รวมถึงประสบการณ์ที่ได้ฝึกฝนจากการทำแล็บต่าง ๆ ในชั้นปีพรีคลินิก มาประยุกต์เพื่อใช้ใน การรักษาคนไข้จริง ภายใต้การกำกับดูแลจากอาจารย์อย่างใกล้ชิด โดยนอกจากจะได้ฝึกการรักษาคนไข้ตามมาตรฐานวิชาชีพแล้ว น้อง ๆ ก็จะได้ฝึกบริหารจัดการเวลาในการนัดคนไข้ และได้ฝึกทักษะการสื่อสารกับคนไข้อีกด้วย เรียกได้ว่าการเรียนคลินิกนี้ จะทำให้น้อง ๆ ได้สัมผัสถึงความเป็นหมออย่างเต็มตัวเลยทีเดียว นอกจากการรักษาคนไข้แล้ว ในชั้นคลินิกปี 4-6 นี้ ก็ยังมีเลคเชอร์และแล็บที่ยังต้องเรียนคู่กันด้วย เรียกได้ว่าการเรียนในชั้นปีคลินิกนี้ก็เข้มข้นไม่แพ้พรีคลินิกเลย

มาดูกันดีกว่าว่าชีวิตในหนึ่งวันของพี่ ๆ ชั้นปีคลินิกทำอะไรกันบ้าง

ต่อมาเราจะพาทุกคนมาดูการทำงานของนิสิตทันตแพทย์ในระบบการเรียนการสอน
ของแต่ละคลินิกภายใต้การดูแลของอาจารย์ในทุกขั้นตอนกัน!

ต่อมาเราจะพาทุกคนมาดูการทำงานของนิสิตทันตแพทย์ในระบบการเรียนการสอนของแต่ละคลินิกภายใต้การดูแลของอาจารย์ในทุกขั้นตอนกัน!

Year 4-5 : Clinical practice

พอจบพรีคลินิก ปี 4 จะเป็นปีแรกที่ขึ้นคลินิกได้ เจอคนไข้เป็นครั้งแรก ก็จะเจอเป็นงานเกี่ยวกับการอุดฟัน ขูดหินปูน และก็ถอนฟันที่ไม่ยากเกินไป แต่พอขึ้นคลินิกไปก็จะงง ๆ
กับระบบที่เยอะไปหมด เเบบขนาดเปิดคอมแล้วต้องทำอะไร หรือต้องไปหยิบเอกสารอะไร
ก็งงไปหมด พอผ่านไปนาน ๆ เราก็จะเริ่มปรับตัวกับมันได้เอง แต่เมื่อเวลาของปี 5 มาถึง
ก็จะมีทันตกรรมเด็กกับทันตกรรมประดิษฐ์ให้ต้องเผชิญอีก การปรับตัวครั้งใหญ่ก็ได้ถาโถม
เข้ามา ต้องเรียกได้ว่าเป็นช่วงชีวิตที่ culture shock ไม่มีที่สิ้นสุดจริง ๆ

พอจบพรีคลินิก ปี 4 จะเป็นปีแรกที่ขึ้นคลินิกได้ เจอคนไข้เป็นครั้งแรก ก็จะเจอเป็นงานเกี่ยวกับการอุดฟัน ขูดหินปูน และก็ถอนฟันที่ไม่ยากเกินไป แต่พอขึ้นคลินิกไปก็จะงง ๆ กับระบบที่เยอะไปหมด เเบบขนาดเปิดคอมแล้วต้องทำอะไร หรือต้องไปหยิบเอกสารอะไรก็งงไปหมด พอผ่านไปนาน ๆ เราก็จะเริ่มปรับตัวกับมันได้เอง แต่เมื่อเวลาของปี 5 มาถึงก็จะมีทันตกรรมเด็กกับทันตกรรมประดิษฐ์ให้ต้องเผชิญอีก การปรับตัวครั้งใหญ่ก็ได้ถาโถมเข้ามา ต้องเรียกได้ว่าเป็นช่วงชีวิตที่ culture shock ไม่มีที่สิ้นสุดจริง ๆ

Culture Shock!!

(ลองแตะที่รูปดูสิ)

ต้องจัดและเก็บอุปกรณ์ทำฟันเองทุกครั้งทั้งก่อนและหลังทำฟัน แถมบางทีเลิกช้าก็ไม่มีเวลาไปกินข้าว

อาจารย์ในคลินิกแต่ละโซนไม่เหมือนกัน ต้องคอยลุ้นปรับตัวไปตามอาจารย์คนนั้น ๆ

Laboratories

Previous
Next

Orthodontic Laboratory

ใน แล็บจัดฟัน นี้ทุกคนจะได้เข้ามาฝึกดัดลวดและทำอุปกรณ์ช่วยจัดฟันในช่องปาก ที่มากกว่ารีเทนเนอร์ ในแล็บนี้เราจะเน้นความแข็งแรงของนิ้วและมือเป็นหลัก แม้ว่าบางครั้งเราจะทำเลือดตัวเองออกบ้างจากการทำลวดจิ้มนิ้ว แต่แล็บนี้ก็จะทำให้ทุกคนได้ฝึกทักษะที่จำเป็น

Previous
Next

Pediatric Dentistry Laboratory

ใน แล็บทันตกรรมสำหรับเด็ก จะพาทุกคนไปรู้จักกับการทำฟันให้กับเด็กในรูปแบบต่าง ๆ เหมือนว่าเราได้ไปเป็นคุณหมอฟันของหนูนิดจริง ๆ เลย ในการทำฟันเด็กจะต้องมีทั้งความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างของเด็กและผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังต้องมีทักษะในการสื่อสารและจิตวิทยาในการคุยกับเด็กและผู้ปกครอง เพราะเด็กเป็นมากกว่าผู้ใหญ่ตัวเล็ก

Previous
Next

Occlusion Laboratory

แล็บทันตกรรมบดเคี้ยว เป็นสิ่งที่ผู้คนอาจจะไม่ได้นึกถึงเมื่อพูดถึงทันตแพทย์ แต่จริง ๆ แล้ว มีผู้คนอีกมากมายที่มีปัญหากับระบบบดเคี้ยว เช่น การนอนกัดฟัน อ้าปากไม่ได้ เคี้ยวแล้วเจ็บ อ้าปากแล้วเจ็บ ในแล็บบดเคี้ยวจะพานิสิตทันตแพทย์ไปพบกับวิธีการตรวจความผิดปกติ การรักษาและการทำเฝือกสบฟัน

Previous
Next

Endodontic Laboratory

แล็บเอ็นโดดอนต์ จะเป็นการนำความรู้จากที่เราได้เรียนไปใน Lecture เกี่ยวกับลักษณะของโพรงรากฟันที่ปกติว่าเป็นยังไง, มีอะไรบ้าง, การตอบสนองต่อเชื้อโรคของโพรงประสาทฟัน รวมถึงเรื่องความผิดปกติ ลักษณะที่บ่งบอกว่ามีการติดเชื้อในคลองรากฟัน ไปจนถึงวิธีการรักษาคลองรากฟัน ไปใช้ในแล็บที่เราจะได้ฝึกรักษารากฟันในฟันที่ถอนมาแล้วหลาย ๆ ซี่ ก่อนที่ท้ายที่สุด เราก็จะได้มาฝึกทำงานในคนไข้จริง ๆ  ในคลินิกสักที!

ซึ่งวิชานี้ ก็มีความท้าทายอย่างมากก เพราะนอกจากจะต้องรักษา ป้องกันการติดเชื้อเอาไปในคลองรากฟันแล้ว เรายังต้องทำงานในพื้นที่ที่เล็กมาก ๆ จนเรามองไม่เห็นอีกต่างหาก ;-;

ขอบคุณภาพจาก @himmfoto @obi.dent

Orthodontic Laboratory

Previous
Next

ใน แล็บจัดฟัน นี้ทุกคนจะได้เข้ามาฝึกดัดลวดและทำอุปกรณ์ช่วยจัดฟันในช่องปาก ที่มากกว่ารีเทนเนอร์ ในแล็บนี้เราจะเน้นความแข็งแรงของนิ้วและมือเป็นหลัก แม้ว่าบางครั้งเราจะทำเลือดตัวเองออกบ้างจากการทำลวดจิ้มนิ้ว แต่แล็บนี้ก็จะทำให้ทุกคนได้ฝึกทักษะที่จำเป็น

Pediatric Dentistry Laboratory

Previous
Next

ใน แล็บทันตกรรมสำหรับเด็ก จะพาทุกคนไปรู้จักกับการทำฟันให้กับเด็กในรูปแบบต่าง ๆ เหมือนว่าเราได้ไปเป็นคุณหมอฟันของหนูนิดจริง ๆ เลย ในการทำฟันเด็กจะต้องมีทั้งความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างของเด็กและผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังต้องมีทักษะในการสื่อสารและจิตวิทยาในการคุยกับเด็กและผู้ปกครอง เพราะเด็กเป็นมากกว่าผู้ใหญ่ตัวเล็ก

Occlusion Laboratory

Previous
Next

แล็บทันตกรรมบดเคี้ยว เป็นสิ่งที่ผู้คนอาจจะไม่ได้นึกถึงเมื่อพูดถึงทันตแพทย์ แต่จริง ๆ แล้ว มีผู้คนอีกมากมายที่มีปัญหากับระบบบดเคี้ยว เช่น การนอนกัดฟัน อ้าปากไม่ได้ เคี้ยวแล้วเจ็บ อ้าปากแล้วเจ็บ ในแล็บบดเคี้ยวจะพานิสิตทันตแพทย์ไปพบกับวิธีการตรวจความผิดปกติ การรักษาและการทำเฝือกสบฟัน

Endodontic Laboratory

Previous
Next

แล็บเอ็นโดดอนต์ จะเป็นการนำความรู้จากที่เราได้เรียนไปใน Lecture เกี่ยวกับลักษณะของโพรงรากฟันที่ปกติว่าเป็นยังไง, มีอะไรบ้าง, การตอบสนองต่อเชื้อโรคของโพรงประสาทฟัน รวมถึงเรื่องความผิดปกติ ลักษณะที่บ่งบอกว่ามีการติดเชื้อในคลองรากฟัน ไปจนถึงวิธีการรักษาคลองรากฟัน ไปใช้ในแล็บที่เราจะได้ฝึกรักษารากฟันในฟันที่ถอนมาแล้วหลาย ๆ ซี่ ก่อนที่ท้ายที่สุด เราก็จะได้มาฝึกทำงานในคนไข้จริง ๆ  ในคลินิกสักที!

ซึ่งวิชานี้ ก็มีความท้าทายอย่างมากก เพราะนอกจากจะต้องรักษา ป้องกันการติดเชื้อเอาไปในคลองรากฟันแล้ว เรายังต้องทำงานในพื้นที่ที่เล็กมาก ๆ จนเรามองไม่เห็นอีกต่างหาก ;-;

ขอบคุณภาพจาก @himmfoto @obi.dent

⚠️ Caution NL Test ⚠️

ในปี 4 จะมีการสอบ national license (NL) หรือ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมครั้งที่ 1 โดยจะเป็นการสอบเพื่อประเมินความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และทันตแพทย์พื้นฐาน ทำให้เราต้องรวบรวมความรู้ preclinic ที่สั่งสมมาตั้งแต่ปี 1!

Year 6 : Almost there!!

ปีสุดท้ายของการเรียนของทันตแพทย์เเล้ว ช่วงแรก ๆ ก็จะมีคนมากมายที่เครียดกับงานคลินิกค้างที่ต้องตามเก็บให้ครบ เเต่พอทำได้ครบเเล้วก็เรียกได้ว่ายกภูเขาออกจากอก
เลยทีเดียว เเต่เเน่นอนว่าสิ่งที่รออยู่ก็คือการสอบ NL ครั้งสุดท้ายเพื่อเป็นการรับรองว่าเรา
คือทันตแพทย์เเล้วไม่ได้เป็นเพียงนิสิตทันตแพทย์อีกต่อไป เเละสุดท้ายชั้นปีนี้ก็ยังมีวิชาเลือกมากมายที่ให้เราได้เรียนตามความสนใจ และตามหาตัวเองว่าเราจะเดินเส้นทางไหนต่อใน
สายอาชีพนี้ เรียกได้ว่าเป็นจุดสิ้นสุดของชีวิตมหาวิทยาลัย แต่เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตทันตแพทย์ที่เเท้จริง

ปีสุดท้ายของการเรียนของทันตแพทย์เเล้ว ช่วงแรก ๆ ก็จะมีคนมากมายที่เครียดกับงานคลินิกค้างที่ต้องตามเก็บให้ครบ เเต่พอทำได้ครบเเล้วก็เรียกได้ว่ายกภูเขาออกจากอกเลยทีเดียว เเต่เเน่นอนว่าสิ่งที่รออยู่ก็คือการสอบ NL ครั้งสุดท้ายเพื่อเป็นการรับรองว่าเราคือทันตแพทย์เเล้วไม่ได้เป็นเพียงนิสิตทันตแพทย์อีกต่อไป เเละสุดท้ายชั้นปีนี้ก็ยังมีวิชาเลือกมากมายที่ให้เราได้เรียนตามความสนใจ และตามหาตัวเองว่าเราจะเดินเส้นทางไหนต่อในสายอาชีพนี้ เรียกได้ว่าเป็นจุดสิ้นสุดของชีวิตมหาลัย แต่เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตทันตแพทย์ที่เเท้จริง

Unexpected stuff

(ลองแตะที่รูปดูสิ)

ว่างขึ้นมาก ๆ พอเก็บเคสที่ต้องทำครบ ใครขี้เกียจอยากพักคาบนั้นก็ไม่ต้องขึ้นคลินิกก็ได้

ทันตกรรมชุมชน คืออะไร ทำไมเราต้องเรียน?

เพราะเป้าหมายของทันตแพทย์ไม่ได้มีแค่การรักษาสุขภาพช่องปาก แต่ยังต้องให้ความสำคัญในการให้ความรู้กับประชาชนทั่วไป เพื่อที่ทุกคนจะได้สามารถดูแลรักษาสุขภาพช่องปากได้ด้วยตัวเอง

คณะเรามีเรียนทั้งภาคทฤษฎีและมีออกไปเรียนรู้ในชุมชนจริงตอนปี 3 กับ ปี 6 ด้วย!! 

วิชาทันตกรรมชุมชนจึงเป็นวิชาที่เราจะเน้นไปที่ทันตกรรมเพื่อ “ป้องกัน” โรคที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม โครงสร้างภายในชุมชน และระบบสาธารณสุขของคนในสังคม แถมยังได้เรียนรู้การวางนโนบาย โครงการ ที่จะนำไปปรับใช้ในระดับชุมชน จังหวัด หรือระดับประเทศเลยนะ!!

รวบยอด คืออะไร?

รวบยอด คือ การออกไปทำงานนอกคณะเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานในโรงพยาบาล ตั้งแต่ขั้นตอนการซักประวัติคนไข้ การรักษาคนไข้ที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ รวมถึงการบริหารจัดการในโรงพยาบาล และบางที่
ก็จะได้ฝึกทำงานด้วย

สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก
รวบยอด

  • การทำงานในโรงพยาบาลจะมีผู้ช่วย ซึ่งต่างจากในคณะ
    ที่เราจะต้องทำทุกอย่างเอง
  • คนไข้ในคณะจะใจเย็นกว่าคนไข้ในโรงพยาบาล
  • มีการทำงานที่หลากหลายกว่าในคณะ และไม่มีอาจารย์คอยคุมให้
  • ได้ประสบการณ์การทำงานที่จะทำให้เราเข้าใกล้
    ความเป็นทันตแพทย์มากขึ้น !

วิชาเลือก

ในปี 6 จะมี วิชาเลือก ที่ต้องลง 2 วิชาจากวิชาที่เปิดให้ลงทั้งหมด 24 วิชา ส่วนใหญ่จะเป็นวิชาที่ให้นิสิตได้ทดลองศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษาต่อในอนาคตหรือให้ความรู้ที่น่าสนใจที่สามารถนำไปใช้ในการทำงานทันตแพทย์ได้

ในปี 6 จะมี วิชาเลือก ที่ต้องลง 2 วิชาจากวิชาที่เปิดให้ลงทั้งหมด 24 วิชา ส่วนใหญ่จะเป็นวิชาที่ให้นิสิตได้ทดลองศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษาต่อในอนาคตหรือให้ความรู้ที่น่าสนใจที่สามารถนำไปใช้ในการทำงานทันตแพทย์ได้

หรือให้เปรียบเทียบง่าย ๆ คือเหมือน upskill และเพิ่มความรู้ นั่นเอง!!

หรือให้เปรียบเทียบง่าย ๆ คือเหมือน upskill และเพิ่มความรู้ นั่นเอง!!

ยกตัวอย่างเช่น

  • upskill การผ่าฟันคุด
  • เพิ่มความรู้เรื่องวัสดุที่ใช้ในทางทันตกรรม
  • เพิ่มความรู้เกี่ยวกับการบริหารกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำฟัน

⚠️ Caution NL Test ⚠️

หลังจากที่สอบ NL ตอนปี 4 ไปครั้งนึงแล้ว เราก็จะต้องสอบอีกครั้งตอนปี 6 โดยในครั้งนี้ จะเป็นการสอบเพื่อประเมินความรู้ทางคลินิก แล้วยังมีการสอบปฏิบัติอีกด้วย สอบผ่านแล้วก็เตรียมตัวเรียนจบไปเป็นทันตแพทย์ได้เลยยย

หลังจากที่สอบ NL ตอนปี 4 ไปครั้งนึงแล้ว เราก็จะต้องสอบอีกครั้งตอนปี 6 โดยในครั้งนี้ จะเป็นการสอบเพื่อประเมินความรู้ทางคลินิก แล้วยังมีการสอบปฏิบัติอีกด้วย สอบผ่านแล้วก็เตรียมตัวเรียนจบไปเป็นทันตแพทย์ได้เลยยย

จบแล้วไปไหน

ทันตแพทย์จบใหม่จะต้องทำงานใช้ทุนหรือไม่ก็ต้องจ่ายเงินชดเชย
ตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญา

การใช้ทุนมี 3 รูปแบบหลัก ๆ คือ
1. รับราชการทหาร
2. ทำงานเป็นอาจารย์หรือทันตแพทย์ในมหาวิทยาลัย
3. รับราชการในกระทรวงสาธารณสุข

สำหรับการรับราชการทหารและในมหาวิทยาลัยจะเป็นการรับตรง
ส่วนกระทรวงสาธารณสุขมี “ตำแหน่งไม่พอกับจำนวนเด็กจบใหม่”
ปีนี้จึงใช้เป็นการจับฉลาก โดยแบ่งเป็นสามรอบ (ถ้า 3 รอบแล้วไม่ติดสักที่ก็จะไม่ต้องใช้ทุนและไม่ต้องจ่ายเงินด้วย) ในปีต่อไปจะมีเกณฑ์อย่างไรก็คงต้องติดตามกันอีกที

ไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น แต่ถ้าเรียนต่อได้ก็จะดีกว่า
เพราะจะสามารถทำงานที่ยากและหลากหลายได้มากขึ้น

สามารถ อุด ขูด ถอน และผ่าฟันคุดแบบง่ายได้
นอกจากนี้ยังสามารถรักษารากฟัน จัดฟัน และทำฟันปลอมได้ แต่มักจะไม่ทำกัน

สามารถเรียนต่อได้หลายสาขา เช่น ทันตกรรมจัดฟัน, ทันตกรรมประดิษฐ์,
ทันตกรรมสำหรับเด็ก, ปริทันตวิทยา และ ศัลยศาสตร์ช่องปาก เป็นต้น
โดยจะมีทั้งการเรียนแบบเป็นคอร์สระยะสั้นและระยะยาว หรืออาจจะไปเรียนแพทย์
เพื่อมาทำงานต่อในภาคแม็กซิลโลเฟเชียล

คอร์สระยะสั้นจะเป็นหลักสูตรเฉพาะเรื่องเรียนไม่กี่เดือน จบแล้วได้ใบ certificate
ส่วนคอร์สระยะยาว จะมีหลักๆคือ ป.โท, ป.เอก และ ป.บัณฑิตชั้นสูง
มีทั้งการเรียนเฉพาะทาง การทำวิจัย และการฝึกทักษะทางคลินิกระดับสูง
ใช้เวลาเรียนเป็นปีตามประเภท สามารถดูข้อมูลหลักสูตรเพิ่มเติมของคณะเราได้ที่ http://www.dent.chula.ac.th/grad/index.php

Our Activities

ในคณะของเรา นอกจากจะเน้นเรียนแล้ว กิจกรรมเราก็มีให้ทำด้วยนะ
ซึ่งทุกคนก็สามารถเลือกทำได้ตามความชอบเลย >_<

ในคณะของเรา นอกจากจะเน้นเรียนแล้ว กิจกรรมเราก็มีให้ทำด้วยนะ ซึ่งทุกคนก็สามารถเลือกทำได้ตามความชอบเลย >_<

กีฬา

Gown Games

เป็นการแข่งขันกีฬาของนิสิตจากคณะสายวิทย์สุขภาพ นั่นก็คือ เภสัชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ แพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ สหเวชศาสตร์


Molar Games

การแข่งขันกีฬาภายใน
ของคณะทันตแพทยศาสตร์ของเรา
มีทั้งรูปแบบออนไลน์และออนไซต์

K-Nine Games

มีอีกชื่อเรียกว่างานเขี้ยวสัมพันธ์ เป็นงานการแข่งขันกีฬา ของคณะทันตแพทยศาสตร์ รวมทั้งหมด 13 มหาวิทยาลัย

 

 

 

Gown Games

เป็นการแข่งขันกีฬาของนิสิตจากคณะสายวิทย์สุขภาพ นั่นก็คือ เภสัชศาสตร์
ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ แพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ สหเวชศาสตร์

 


Molar Games

การแข่งขันกีฬาภายใน
ของคณะทันตแพทยศาสตร์ของเรา
มีทั้งรูปแบบออนไลน์และออนไซต์

 


K-Nine Games

มีอีกชื่อเรียกว่างานเขี้ยวสัมพันธ์ เป็นงาน
การแข่งขันกีฬา ของคณะทันตแพทยศาสตร์
รวมทั้งหมด 13 มหาวิทยาลัย

Gown Games

เป็นการแข่งขันกีฬาของนิสิตจากคณะสายวิทย์สุขภาพ นั่นก็คือ เภสัชศาสตร์ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ แพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ สหเวชศาสตร์

 

Molar Games

การแข่งขันกีฬาภายในของคณะทันตแพทยศาสตร์ของเรา
มีทั้งรูปแบบออนไลน์และออนไซต์

 

K-Nine Games

มีอีกชื่อเรียกว่างานเขี้ยวสัมพันธ์ เป็นงานการแข่งขันกีฬา ของคณะทันตแพทยศาสตร์รวมทั้งหมด 13 มหาวิทยาลัย

ดนตรี

 

 

 

Freshy Contest 
และ Concert Contest

เป็นงานประกวดดนตรีของชาวทันตะ จุฬาฯ
มีทั้งงาน Freshy ของปี 1 และงานรวมทุกชั้นปี รวมไปถึงบุคลากรและอาจารย์อีกด้วย

Freshy Contest 
และ Concert Contest

เป็นงานประกวดดนตรีของชาวทันตะ จุฬาฯมีทั้งงาน Freshy ของปี 1 และงานรวมทุกชั้นปี รวมไปถึงบุคลากรและอาจารย์อีกด้วย

Freshy Contest 
และ Concert Contest

เป็นงานประกวดดนตรีของชาวทันตะ จุฬาฯ
มีทั้งงาน Freshy ของปี 1 และงานรวมทุกชั้นปี รวมไปถึงบุคลากรและอาจารย์อีกด้วย

วิชาการ

 

 

 

 


แลกเปลี่ยน

เป็นโปรแกรมที่จะส่งนิสิต
ไปแลกเปลี่ยนความรู้ที่ต่างประเทศ

 

แลกเปลี่ยน

เป็นโปรแกรมที่จะส่งนิสิต
ไปแลกเปลี่ยนความรู้ที่ต่างประเทศ

แลกเปลี่ยน

เป็นโปรแกรมที่จะส่งนิสิต
ไปแลกเปลี่ยนความรู้ที่ต่างประเทศ

ค่าย

 


Dentcamp

ค่ายที่พี่ ๆ ชั้นปีที่ 2-6 จัดให้กับน้องปี 1 ให้ได้ลองสัมผัสถึงชีวิตในรั้วทันตะ จุฬาฯ ว่า 6 ปีต่อจากนี้จะได้เรียนอะไรบ้าง 

 


ค่ายพัฒน์

ค่ายที่จะเน้นการได้อยู่กับตัวเองและธรรมชาติ ได้ออกไปทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ

 


ค่ายอาสา

ค่ายที่จะออกไปพัฒนาโรงเรียน
ทำกิจกรรมร่วมกับเด็กๆ
และชาวบ้านในชุมชน

 


ค่ายอยากเป็นหมอฟัน

ค่ายที่จะจัดขึ้นเพื่อน้อง ๆ ม.ปลาย
จากทั่วประเทศเพื่อให้น้อง ๆ ได้รู้จัก
คณะทันตะ จุฬาฯ มากยิ่งขึ้น และจะเป็น
การช่วยให้น้อง ๆ ค้นหาตัวเอง
ว่าทันตแพทย์จะใช่คำตอบของตัวเองหรือไม่

 


ค่ายอนามัย

ค่ายที่จะรวม 6 คณะสายสาธารณสุข
เพื่อที่จะจัดกิจกรรมลงชุมชนและออกหน่วยตรวจสุขภาพให้บริการกับชาวบ้าน


Dentcamp

ค่ายที่พี่ ๆ ชั้นปีที่ 2-6 จัดให้กับน้องปี 1 ให้ได้ลองสัมผัสถึงชีวิตในรั้วทันตะ จุฬาฯ ว่า 6 ปีต่อจากนี้จะได้เรียนอะไรบ้าง 


ค่ายพัฒน์

ค่ายที่จะเน้นการได้อยู่กับตัวเองและธรรมชาติ ได้ออกไปทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ


ค่ายอาสา

ค่ายที่จะออกไปพัฒนาโรงเรียน
ทำกิจกรรมร่วมกับเด็กๆ
และชาวบ้านในชุมชน

ค่ายอยากเป็นหมอฟัน

ค่ายที่จะจัดขึ้นเพื่อน้อง ๆ ม.ปลาย จากทั่วประเทศเพื่อให้น้อง ๆ ได้รู้จัก คณะทันตะ จุฬาฯ มากยิ่งขึ้น และจะเป็นการช่วยให้น้อง ๆ ค้นหาตัวเอง
ว่าทันตแพทย์จะใช่คำตอบของตัวเองหรือไม่

ค่ายอนามัย

ค่ายที่จะรวม 6 คณะสายสาธารณสุข เพื่อที่จะจัดกิจกรรมลงชุมชนและออกหน่วยตรวจสุขภาพให้บริการกับชาวบ้าน

Dentcamp

ค่ายที่พี่ ๆ ชั้นปีที่ 2-6 จัดให้กับน้องปี 1 ให้ได้ลองสัมผัสถึงชีวิตในรั้วทันตะ จุฬาฯ ว่า 6 ปีต่อจากนี้จะได้เรียนอะไรบ้าง 

ค่ายพัฒน์

ค่ายที่จะเน้นการได้อยู่กับตัวเองและธรรมชาติ ได้ออกไปทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ

ค่ายอาสา

ค่ายที่จะออกไปพัฒนาโรงเรียน
ทำกิจกรรมร่วมกับเด็กๆ
และชาวบ้านในชุมชน

ค่ายอยากเป็นหมอฟัน

ค่ายที่จะจัดขึ้นเพื่อน้อง ๆ ม.ปลายจากทั่วประเทศเพื่อให้น้อง ๆ ได้รู้จักคณะทันตะ จุฬาฯ มากยิ่งขึ้น และจะเป็นการช่วยให้น้อง ๆ ค้นหาตัวเองว่าทันตแพทย์จะใช่คำตอบของตัวเองหรือไม่

ค่ายอนามัย

ค่ายที่จะรวม 6 คณะสายสาธารณสุข
เพื่อที่จะจัดกิจกรรมลงชุมชนและออกหน่วยตรวจสุขภาพให้บริการกับชาวบ้าน

นิสิตสัมพันธ์

 


First Date

เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อให้รุ่นพี่ได้มาต้อนรับ
น้อง ๆ ปี 1 ที่เข้ามาในปีนั้น ๆ
โดยจะแยกเป็นกลุ่มของแต่ละคณะ

 


ค่ายทวิพบ

เป็นกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างปี 1 และปี 2 ผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน และมีการจัดกิจกรรมเฉลยสายรหัส

 


รับกาวน์

เป็นงานการรับเสื้อกาวน์ของพี่ ๆ ชั้นปีที่ 4
เพื่อแสดงถึงการผ่านขึ้นไปสู่ชั้นคลินิก
ของการเรียนทันตแพทย์

 


Vadentine

กิจกรรมวันวาเลนไทน์ ที่มีทั้งการแสดง
ดนตรีสดและการสอยดาว นอกจากนี้
ยังมีการแปะสติกเกอร์ให้กันอีกด้วย

First Date

เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อให้รุ่นพี่ได้มาต้อนรับน้อง ๆ ปี 1 ที่เข้ามาในปีนั้น ๆโดยจะแยกเป็นกลุ่มของแต่ละคณะ

ค่ายทวิพบ

เป็นกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างปี 1 และปี 2 ผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน และมีการจัดกิจกรรมเฉลยสายรหัส

รับกาวน์

เป็นงานการรับเสื้อกาวน์ของพี่ ๆ ชั้นปีที่ 4 เพื่อแสดงถึงการผ่านขึ้นไปสู่ชั้นคลินิกของการเรียนทันตแพทย์

Vadentine

กิจกรรมวันวาเลนไทน์ ที่มีทั้งการแสดงดนตรีสดและการสอยดาว นอกจากนี้
ยังมีการแปะสติกเกอร์ให้กันอีกด้วย

ชมรม

ในคณะของเรามีชมรมต่าง ๆ เพื่อให้รุ่นพี่รุ่นน้องได้มีกิจกรรมร่วมกัน ได้แก่ The Dent, Melodent, DentCU Cheerleader, The Dance, ดนตรีไทย, Undercut, DentCU Sports Club, Light & Sound DentCU, และอ้าปากกว้าง แต่ละชมรมก็น่าสนใจไม่แพ้กันเลยนะ!

(แตะที่ชื่อชมรมเพื่อดูคำอธิบาย)

The Dance

ชมรมเต้นของทันตะจุฬาฯ ไม่ว่าจะชอบแนว cover เกาหลี, ฝรั่ง หรือแนวไหนก็เข้าได้หมดเลย 

ดนตรีไทย

ชมรมนี้ เรามีทั้งระนาด ขิม จะเข้ ไปจนถึงซอและขลุ่ยเลยนะ นอกจากนี้ ยังมีพี่ ๆ คณะศิลปกรรมมาช่วยสอนด้วย!

Undercut

ชมรมถ่ายหนังที่มีทั้งทีมเขียนบท ตากล้อง ผู้กำกับ และยังคอยช่วยตัดต่อหลาย ๆ คลิปวิดีโอของคณะด้วยนะ

DentCU Cheerleader

ชมรมผู้นำเชียร์แห่งคณะทันตแพทยศาสตร์ เราจะเป็นผู้ส่งกำลังใจให้กันในทุก ๆ งานเอง!

The Dent

ชมรมวงดนตรีที่จะนำพาความมันส์ไปให้กับคุณในทุก ๆ คอนเสิร์ต

อ้าปากกว้าง

ชมรมวิชาการที่คอยเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับช่องปากและฟันแก่ประชาชนทั่วไป ติดตามพวกเราได้ที่ Facebook: อ้าปากกว้าง และ IG: Openyourmouth.th

DentCU Sports Club

ชมรมที่ทุกคนในคณะจะได้มาเล่นกีฬากัน ไม่ว่าจะเป็น แบด บาส บอล วอลเลย์ ก็สามารถนัดเล่นกับเพื่อน ๆ พี่ ๆ มา make friend กันได้เต็มที่เล้ยยย

แสงเสียง

ชมรมนี้จะคอยดูแลแสงและเสียงของงานต่าง ๆ ในคณะของเรา รวมถึงงาน open house ด้วย

Melodent

ชมรมวงดนตรีบรรเลง เรามีทั้งแซกโซโฟน ไวโอลิน และเปียโนที่จะมาขับขานบทเพลงและท่วงทำนองให้ทุกคนลุ่มหลงไปกับโลกอีกใบ

เกือบแล้ว ลองตอบดูอีกทีนะ

c. ฟันซี่ 26

“Two-digit system” เป็นระบบที่นิยมใช้ในการนับและการเรียกซี่ฟันโดยใช้ตัวเลขสองหลัก ตัวเลขหลักแรกที่อยู่ทางซ้ายมือจะแทน Quadrant ที่ฟันอยู่ และตัวเลขหลักที่สองที่อยู่ทางขวามือจะแทนตำแหน่งของฟันซี่นั้นเมื่อนับจากกึ่งกลางใบหน้าเข้ามา

อย่างในคำถามข้อนี้ฟันที่ลูกศรชี้คือ ฟันบนด้านซ้ายก็จะอยู่ใน Quadrant ที่ 2 และเป็นฟันกรามซี่แรกจึงลงท้ายด้วย 6 ฟันซี่นี้คือฟันซี่ 26 นั่นเอง

ฟันปลอมทั้งปาก
(Complete denture)

ตามภาพที่เห็นดูไม่ยาก แต่จริง ๆ แล้วต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการทำเลยนะะะ ฟันปลอมของคนไข้แต่ละคนหน้าตาไม่เหมือนกันนะ เราต้องออกแบบให้เหมาะกับคนไข้แต่ละคนอีกด้วย!!

ฟันปลอมบางส่วนถอดได้ (Removable partial denture)

เป็นการใส่ฟันปลอมทดแทนบางส่วนให้กับคนไข้ โดยรูปร่างของฟันปลอมก็แตกต่างกันไปในแต่ละประเภท สิ่งที่แตกต่างจากฟันปลอมทั้งปากคือเราต้องนำฟันที่เหลืออยู่ของคนไข้มาออกแบบให้ได้ชนิดและรูปร่างของฟันปลอมที่เหมาะสมนั่นเอง

ครอบฟันและสะพานฟัน
(Crown & Bridge)

การทำครอบฟันหรือสะพานฟัน หลายคนคงคิดว่าออกแบบฟัน 1 ซี่น่าจะง่ายกว่าฟันปลอมตั้งเยอะ แต่ความจริงมีความยากกันคนละแบบเพราะการทำครอบฟันก็มีหลากหลายวัสดุ แถมยังซี่เล็กนิดเดียว ต้องมีความละเอียดในการทำมาก ๆ เลย

ถูกต้อง!

เห็นไหม ว่าหากเราเลือกสีของวัสดุบูรณะได้ถูกต้อง ฟันที่ได้ออกมาก็จะสวย เนียนเหมือนของจริงแบบนี้เลยล่ะ!

สุดท้ายนี้ อย่าลืมไปติดตามไอจีของพี่หมอ @dr.thanut เจ้าของภาพฟันที่ใช้ใน Quiz นี้ เพื่อดูผลงานอื่น ๆ ของพี่หมอกันเลย

ไม่ต้องเป็นห่วง ! เพื่อนจะไม่ทำร้ายเรา เพราะเราจะได้ซ้อมขูดหินปูนกับหุ่นจนชำนาญ ก่อนขูดหินปูนกับเพื่อนจริง ๆ บนคลินิกนะ

แล็บวิชานี้พิเศษตรงที่นอกจากจะฝึกกับหุ่นแล้วยังได้ลองขูดหินปูนให้เพื่อนในรุ่น เรียกได้ว่าเป็นคนไข้คนแรกในชีวิตเราเลยแหละ >_<

หลายคนคงเคยมีประสบการณ์ขูดหินปูนด้วยเครื่องที่มีน้ำพ่นออกมาด้วย แต่รู้มั้ยว่าจริง ๆ แล้วยังมีเครื่องมือหน้าตาแบบนี้ไว้ขูดหินปูนแบบไม่ต้องพ่นน้ำหรือเรียกว่าขูดแบบแห้งนั่นเอง

การอุดฟัน

การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน เราจะค่อย ๆ เรียนรู้วิธีการอุดฟันหลาย ๆ รูปแบบที่แตกต่างกัน ให้ได้ฟันที่สวยงามดังเดิม

ประเมินเว็บไซต์
6-year life


Try Again

A=Maxilla, B=Mandible

กระดูกสองชิ้นนี้จะเป็นกระดูกที่ชีวิตในการเรียนทันตแพทย์จะได้ยินชื่อนับครั้งไม่ถ้วนเลยเพราะเป็นกระดูกที่อยู่กับฟันนั้นเอง โดย maxilla คือขากรรไกรบน และ mandibular คือขากรรไกรล่าง